วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความแตกต่างของประกันแต่ละชนิด ประกันชั้น1,2,3 คืออะไร ต่างกันอย่างไร

การเลือกทำประกันภัยรถยนต์..ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1และ2 ,3 มีความแตกต่างกันอย่างไร 
การประกันภัยคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร  การประกันภัยเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการบริหาร การเงินของคุณ เพราะเป็นวิธีที่ทำให้คุณ สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดต่อตัวหรือทรัพย์สินของคุณได้ทุกเมือ โดยบริษัทที่คุณทำประกันภัยไว้จะทดแทน ค่าเสียหายให้ตามวงเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ดังนั้นในการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้แก่คุณและครอบครัว การปะกันภัยจึงมีประโยชน์อย่างมากและเป็นส่วนที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาด อย่างไรก็ตามก่อนซื้อประกันภัยคุณควรทำความเข้าใจกับหลักการประกันภัยก่อน เพื่อจะได้สามารถเลือกซื้อประกันภัยแบบที่เหมาะสมในราคาที่คุ้มค่า การประกันภัยคือ การจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยในจำนวนที่เล็กน้อย เมื่อเทียบกับความเสียหายแล้ว  เพื่อป้องกันไม่ให้ต้องเสีย




เงินเยอะในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นจริง โดยบริษัทประกันภัยจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายแทน การประกันภัยมิได้เป็นการทำให้ความเสี่ยงหรืออุบัติเหตุหายไป แต่การประกันภัยจะช่วยลดภาระ ค่าใช้จ่ายและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ด้านการเงินตลอดจนการดำเนินการต่าง ๆ อันเนื่องมาจากความเสียหายนั้น แต่อย่างไรก็ตามวิธีการป้องกันความเสียหายที่แท้จริงและดีที่สุดคือการมี ความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตของคุณเองส่วนการประกันภัยนั้นคุณควรมีไว้เพื่อเป็นแหล่งสำรองในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น
   
  ตารางเปรียบเทียบความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์ (Insurance) ประเภทต่างๆ
ประเภทประกันภัยรถยนต
รับผิดชอบต่อ บุคคลภายนอก
คุ้มครองรถยนต์
คันที่เอาประกันภัย
คุ้มครองบุคคลภายในรถ
คันที่เอาประกัน
ทรัพย์สิน
บุคคล
สูญหาย
ไฟไหม้
การชน
อุบัติเหตุ
ส่วนบุคคล
ค่ารักษา
พยาบาล
ประกัน
ผู้ขับขี่
ก่อการร้าย 
ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1
 
 
 
 
 
 
 
 
ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+
 
   
 
 *
 
 
 
 
ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2
  
 
 
   
-
 
 
 
 
ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3+
   
-
-
 *
 
 
 

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3
   
-
-
-
 
 
 

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 4
-
-
-
-
-
-
-

หมายเหตุ *ต้องเกิดจากกรณีอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบกเท่านั้น
         ใครมีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถ และ โทษการไม่ทำประกันภัย
   ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถ ได้แก่ เจ้าของรถผู้ครอบครองในฐานะผู้เช่าซื้อรถ และผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศ
   การฝ่าฝืนไม่จัดให้มีการทำประกันภัยรถ  พ.ร.บ  คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ 2535 กำหนดให้ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
        ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ
   ผู้ประสบภัยอันได้แก่ ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสารคนเดินเท้า หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถก็จะได้รับความคุมครองตาม พ.ร.บ นี้
   ทายาทของผู้ประสบภัยข้างต้น กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต
        ผู้มีหน้าที่รับประกันภัยและโทษของการไม่รับประกันภัย
   ผู้มีหน้าที่ต้องรับประกันภัย คือ บริษัทประกันวินาศภัยที่รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัยรถ ประชาชนสามารถทำประกันภัยรถ พ.ร.บ  ได้ที่บริษัทประกันภัยข้างต้นรวมถึงสาขาของบริษัทนั้นๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ที่รับประกันภัยเฉพาะรถจักรยานยนต์ มีสาขาให้บริการทั่วประเทศ
   บริษัทใดฝ่าฝืนไม่รับประกันภัยรถตาม พ.ร.บ คุ้มครองต้องระวางโทษปรับตั้งแต่50,000บาท ถึง 25,000 บาท
         อัตราเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ
  กำหนดเป็นอัตราเบี้ยประกันภัยชั้นสูงอัตราเดียวแยกตามประเภทรถและลักษณะการใช้รถบริษัท
  ประเภทรถ เช่น รถจักยานยนต์ รถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง ฯลฯ
  ลักษณะการใช้รถ แบ่งเป็น 2 ลักษณะการใช้ คือ ส่วนบุคคลและรับจ้าง / ให้เช่า

ที่มา vrmittare.com/web/details.php?id=113

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น